5 "ชาเขียว" คาเฟอีนน้อย ใครกังวลเรื่องคาเฟอีนจัดไป

5 "ชาเขียว" คาเฟอีนน้อย ใครกังวลเรื่องคาเฟอีนจัดไป

"ชาเขียว" เป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไม่แพ้ชาประเภทอื่น หรือกาแฟ แต่ชาเขียวเองก็เป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สำหรับใครที่กังวลเรื่องคาเฟอีน แต่ชอบดื่มชาเขียว เรามีชาเขียว 5 ชนิดคาเฟอีนต่ำมาแนะนำ โดยชาเหล่านี้มีคาเฟอีนต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ขึ้นอยู่กับปริมาณชาที่ใช้และวิธีการชง เราวัดปริมาณชาในหนึ่งหน่วยบริโภคเป็น 5 กรัม ชาใบแห้ง ชง 3 ครั้ง

โฮจิฉะ

อย่างที่กล่าวไปแล้ว โฮจิฉะเป็นชาเขียวญี่ปุ่นที่ผ่านกระบวนการคั่ว การคั่วมีผลต่อปริมาณคาเฟอีนในชา แต่เหตุผลหลักที่ทำให้โฮจิฉะมีคาเฟอีนต่ำนั้นมาจากการเลือกใช้ใบชา โดยทั่วไปโฮจิฉะ มักจะผลิตจากใบแก่ และกิ่งของต้นชา ในช่วงปี 1920 พ่อค้าชาท่านหนึ่งในเกียวโต ต้องการหาประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของต้นชาที่ไม่ได้นำไปใช้ทำเซนฉะ

เขาค้นพบว่าการนำใบแก่และกิ่งของต้นชามาคั่ว จะได้ชาที่มีกลิ่นหอมและรสชาเยี่ยมยอดในเวลาไม่นานโฮจิฉะก็กลายเป็นชาที่ได้รับความนิยม และปัจจุบันชาชนิดนี้ถูกดื่มด่ำกันตามร้านชาและร้านอาหารทั่วประเทศญี่ปุ่น

คูกิจะ

เป็นชาที่ทำจากก้านชาที่นิยมมากที่สุด บางครั้งเรียกว่า "twig tea" ตามชื่อที่บ่งบอก ชาชนิดนี้ผลิตจากก้านของต้นชา สัดส่วนของใบชาและก้านชาสามารถปรับเปลี่ยนได้ ส่งผลต่อทั้งรสชาติและปริมาณคาเฟอีน ชาคูกิจะที่มีก้านมากจะมีคาเฟอีนต่ำกว่า และจะมีรสชาติคล้ายฟางแห้งอ่อนๆ ชัดเจนกว่า

ชาชนิดนี้ถูกคิดค้นโดยเกษตรกรผู้ปลูกชา เนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้องขายใบชาชั้นดีทั้งหมดที่ปลูก พวกเขาจึงมักไม่มีโอกาสได้ดื่มชาของตัวเอง เพื่อแก้ปัญหานี้เกษตรกรบางรายจึงเริ่มนำก้านชาไปตากแห้งและชงกับน้ำ

บันชะ

ถือเป็นชาเขียวญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสอง รองจากเซนชะเท่านั้น ในขณะที่เซนชะผลิตจากใบชาอ่อนที่สุดของต้นชา บันชะจะผลิตจากใบแก่ที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้น ใบชาเหล่านี้มีคาเฟอีนน้อยกว่า แต่มีแร่ธาตุมากกว่า ส่งผลให้มีกลิ่นอายของดินชัดเจน

ชาบันชะเป็นชาที่เหมาะสำหรับดื่มคู่กับอาหาร ด้วยปริมาณคาเฟอีนที่ต่ำ คุณสามารถดื่มได้แม้ในช่วงเย็น รสชาติที่ละมุนละไมเข้ากันได้ดีกับอาหารหลากหลายชนิด นอกจากนี้ยังเชื่อว่าช่วยระบบย่อยอาหารอีกด้วย ไม่ว่าคุณจะชื่นชอบด้วยเหตุผลใด บันชะเป็นอีกหนึ่งชาที่ควรมีติดบ้านไว้

เกนไมฉะ

เป็นหนึ่งในชาเขียวญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักดี ดังที่กล่าวไว้แล้ว ชาเขียวญี่ปุ่นบางชนิดผสมผสานใบชากับส่วนผสมอื่นๆ และเกนไมฉะก็เป็นชาผสมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในญี่ปุ่น เกนไมฉะทำจากใบชาเขียวผสมกับข้าวคั่ว

เนื่องจากข้าวคั่วไม่มีคาเฟอีน จึงทำให้ปริมาณคาเฟอีนในชาเขียวลดลงอย่างมาก เกนไมฉะยังมักทำจากใบชาเก่า ซึ่งช่วยลดคาเฟอีนลงอีก เกนไมฉะสามารถทำจากใบเซนฉะอ่อนได้เช่นกัน และเวอร์ชันนี้จะมีคาเฟอีนมากกว่า