นักวิทย์ศาสตร์ต่างเชื่อว่า ดาวเคราะห์น้อย "โอมูอามูอา" อาจเป็นวัตถุสอดแนมจากเอเลี่ยน

นักวิทย์ศาสตร์ต่างเชื่อว่า ดาวเคราะห์น้อย "โอมูอามูอา" อาจเป็นวัตถุสอดแนมจากเอเลี่ยน

ภาพจำลองดาวเคราะห์น้อย 1I/ Oumuamua" (โอมูอาโอมูอา) ภาพอนุเคราะห์จาก : European Southern Observatory/M. Kornmesser
ภาพจำลองดาวเคราะห์น้อย 1I/ Oumuamua" (โอมูอาโอมูอา) ภาพอนุเคราะห์จาก : European Southern Observatory/M. Kornmesser

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า พบดาวเคราะห์น้อยรูปทรงยาวที่สุดที่เคยพบมา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งความเร็วในการเคลื่อนที่ และทิศทางทำให้เชื่อว่า หินอวกาศขนาดใหญ่นี้ น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากระบบสุริยะอื่น

นักดาราศาสตร์ ต้องเร่งสังเกตและบันทึกข้อมูลของดาวเคราะห์น้อยที่ชื่อว่า 'โอมูอามูอา'  ( ผู้มาเยือนจากต่างดาวนี้ ได้รับการตั้งชื่อว่า "1I/'Oumuamua" (โอมูอาโอมูอา) เนื่องจากเป็นวัตถุจากนอกระบบสุริยะแรก จึงได้รับรหัส "1I" (I ย่อมาจาก Interstellar) และได้รับชื่อ 'Oumuamua ซึ่งมาจากภาษาฮาวายที่แปลว่า ผู้ส่งสารจากแดนไกลที่มาเยือนคนแรก ) ก่อนที่มันจะพ้นไปจากระยะของกล้องโทรทรรศน์ วัตถุดังกล่าวก็ได้สร้างความฉงนสงสัยกับบรรดานักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยรูปแบบของวงโคจรที่ไม่ได้อยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของระบบดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่ง อีกทั้งรูปทรงของมันก็มีลักษณะยาวรีประหลาดกว่าที่เคยพบมา

จากการสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์เวรี ลาร์จ เทเลสโคป ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศชิลี ดร.คาเรน มีช จากสถาบันดาราศาสตร์ ที่ฮอนโนลูลู ฮาวาย และทีมงานระบุว่า ดาวเคราะห์น้อย มีความยาวราว 400 เมตร ซึ่งนับว่ามีความยาวอย่างน้อย 10 เท่าของความกว้าง ( ซึ่งเป็นสัดส่วนที่แปลกกว่าหินอวกาศที่พบได้ในระบบสุริยะของโลก ) หมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว และมีความสว่างผันแปรได้อย่างมาก ซึ่งคุณสมบัตินี้บ่งชี้ถึงรูปร่างที่แปลกประหลาดของโอมูอามูอา

ดร. มีชกล่าวว่า "เมื่อพิจารณาฐานข้อมูลกราฟแสงของดาวเคราะห์น้อยที่เรามีอยู่ พบว่ามีดาวเคราะห์น้อยเพียง 5 ดวง จากทั้งหมด 20,000 ดวง ที่มีกราฟแสงแบบชี้ว่าน่าจะมีรูปทรงในอัตราส่วนแกนกว้างยาวประมาณ 7-8 ต่อ 1" จากการติดตามวงโคจร 29 วัน ทำให้พบว่าวัตถุนี้มีค่าความรีของวงโคจร (orbital eccentricity) ถึง 1.20 ซึ่งนับเป็นค่าความรีที่มากที่สุดสำหรับวัตถุใดๆ ในระบบสุริยะ ทำมุมเอียง 123° กับระนาบสุริยวิถี และมีความเร็วสูงสุดระหว่าง perihelion ถึง 87.71 กม./วินาที ข้อมูลทั้งหมดนี้บ่งชี้ว่าวัตถุนี้อาจจะไม่เคยถูกดึงดูดอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์มาก่อน 

 

"ค่าความผิดพลาดในการคำนวณของเราต่ำมาก ดังนั้น เรามั่นใจว่าวัตถุมีรูปทรงยาว แต่เราไม่รู้ว่าแกนหมุนชี้ไปทางไหน อย่างไรก็ตามเราสันนิษฐานว่าแกนหมุนทำมุมฉากกับเส้นสายตา แต่หากดาวเคราะห์น้อยมีแกนหมุนเอียงลาด จะทำให้เกิดภาพลวงตาเมื่อสังเกตจากระยะไกล ซึ่งจะทำให้คาดคะเนใหม่ได้ว่าสัดส่วนอย่างต่ำของดาวเคราะห์น้อยอาจอยู่ที่ 10:1 หรืออาจจะยาวกว่านั้นอีก" ดร.มีชกล่าว

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า 'โอมูอามูอา' จะมีลักษณะคล้ายวัตถุอวกาศที่พบได้ใกล้กับโลกด้วย ซึ่งดร.มีช ระบุว่า "เราพบว่ามันมีสีออกแดง คล้ายวัตถุที่อยู่รอบนอกของระบบสุริยะ ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นวัตถุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสิ่งใด ไม่มีแม้แต่ฝุ่นละอองสักนิดอยู่โดยรอบ"

นอกไปจากนี้ การที่ไม่สามารถสังเกต coma หรือก๊าซที่ระเหยได้รอบพื้นผิวของวัตถุนี้ บอกว่าพื้นผิวของวัตถุนี้ปราศจากซึ่งน้ำแข็งโดยสิ้นเชิง ในระบบสุริยะของเรานั้น ดาวเคราะห์น้อยที่ปราศจากน้ำแข็งเป็นองค์ประกอบ จะถือกำเนิดขึ้นใกล้บริเวณดวงอาทิตย์ ณ ระยะห่างที่ไม่เกิน frost line เพียงเท่านั้น จากการที่ดาวเคราะห์น้อยนี้นั้นมีต้นกำเนิดที่ห่างจากระบบสุริยะออกไป บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์น้อยนี้น่าจะถือกำเนิดขึ้นภายใน frost line ของระบบดาวฤกษ์ดวงอื่น และถูกดีดออกมาในภายหลังจนเข้ามาสู่ในระบบสุริยะ ซึ่งทำให้วัตถุนี้เป็นวัตถุแรกที่มีการค้นพบว่ามาจากระบบดาวฤกษ์อื่นนอกไปจากระบบสุริยะ

ลักษณะดังกล่าวบ่งชี้ว่า 'โอมูอามูอา' มีความหนาแน่นสูง ประกอบไปด้วยหินแข็งและอาจมีโลหะปนอยู่ ไม่มีน้ำหรือน้ำแข็ง และพื้นผิวเป็นสีออกแดงเนื่องจากสัมผัสรังสีคอสมิกมาเป็นเวลานาน

อีกทั้งเมื่อช่วงเดือน มิถุนายน ที่ผ่านมา เจ้าวัตถุดังกล่าวก็ได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิทยาศาสตร์เมื่อพบว่า มันสามารถเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนด้วยการ “เร่งความเร็ว“ ได้ โดยที่ไม่พบว่ามีปัจจัยภายนอกอื่นๆมากระทำ

แม้คาดว่า 'โอมูอามูอา' ถือกำเนิดขึ้นในระบบสุริยะอื่น แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มันคงล่องลอยอยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือกโดยไม่ได้ดึงดูดเชื่อมโยงกับระบบสุริยะใดเลยมาเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี ก่อนที่จะผ่านเข้ามายังระบบสุริยะของโลก

ศ.Thomas Zurbuchen รองผู้บริหารศูนย์บัญชาการภารกิจด้านวิทยาศาสตร์ของนาซา กล่าวว่า "นับเป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้วที่เราตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับวัตถุอวกาศจากระบบดาวอื่น และนี่เป็นครั้งแรก ที่พบหลักฐานว่ามีอยู่จริง" ซึ่ง "การค้นพบที่สร้างประวัติศาสตร์นี้ เปิดทางให้กับการศึกษาการก่อตัวของระบบสุริยะอื่นต่อไป"

กระทั่งล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน  Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันสมิธโซเนียนในสหรัฐ ได้เผยรายงานจากการติดตามวัตถุดังกล่าวว่า  'โอมูอามูอา'  อาจถูกส่งมาโดย"สิ่งมีชีวิตที่ทรงสติปัญญา" 

 ศ. Abraham Loeb หนึ่งในทีมของสถาบันระบุว่า ก่อนหน้านั้นเราเข้าใจว่าพื้นผิวของ Oumuamua ที่มีความหนาแน่นสูง มันอาจจะมีส่วนประกอบเป็นหินที่มีความแข็งแกร่งสูง หรือโลหะเป็นส่วนใหญ่ซึ่งปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ซึ่งจะส่งผลให้สถานะของมันไม่ต่างอะไรจากดาวหางธรรมดาๆ แต่ทว่าหลังจากที่ ในเดือน มิถุนายน ที่นักวิทยาศาสตร์พบว่า มันสามารถ"เร่งความเร็ว" ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่มีปัจจัยด้านแรงโน้มถ่วงใดๆมากระทำ นั้นจึงทำให้ความเชื่อนี้เปลี่ยนไป

ซึ่งเหตุที่มันเร่งความเร็วด้วยตนเองได้นั้นอาจเป็นเพราะได้รับรังสีจากดาวฤกษ์ใกล้โลกอย่างดวงอาทิตย์ และหากเป็นเช่นนั้นจริงเจ้า Oumuamua จะมีลักษณะการสะสมพลังงานคล้ายกับวิธีของ Lightsails หรือใบสะสมพลังงานผ่านพื้นผิว ซึ่งนั้นเป็นวิธีหนึ่งในการเดินทางข้ามอวกาศอันไกลโพ้นได้โดยที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง ซึ่งแนวคิดLightsailsดังกล่าวนั้น คล้ายกับโครงการ Solar Sail ของนาซ่า หรือโครงการ IKAROS ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการใช้แผงโซลาร์อวกาศ เก็บสะสมพลังงานจากดาวฤกษ์ เพื่อใช้ในการเดินทางไกลๆ โดย Lightsails ที่มีความหนาเพียง 0.3-0.9 mm ก็เพียงพอจะสามารถเดินทางข้ามกาแลคซี่ได้สบายๆ

แนวคิด Lightsails ในโครงการ IKAROS

ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้ ศ. Abraham Loeb และ Shmuel Bialy สองนักวิทยาศาสตร์ของฮาวาร์ดตั้งข้อสันนิฐานว่าเจ้า Oumuamua อาจเป็น "ยานสำรวจอวกาศ" ที่ส่งมาโดยสิ่งมีชีวิตทรงสติปัญญา

การคาดการณ์เบื้องต้นประมาณว่าวัตถุนี้มาจากทิศทางของดาวเวก้าในกลุ่มดาวพิณ( กลุ่มดาวพิณ หรือ Lyra เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้มีขนาดเล็ก แต่หาง่ายเพราะมีดาวฤกษ์สว่างอย่างดาวเวกา ) แต่ด้วยระยะเวลาอันยาวนาน ทำให้ดาวเวกาไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้นเมื่อตอนที่ดาวเคราะห์น้อยนี้ถูกดีดตัวออกมา และดาวเคราะห์น้อยนี้อาจจะถูกดีดตัวออกมาจาก Carina–Columba association เมื่อประมาณ 45 ล้านปีที่แล้ว และอาจจะลองเคว้งคว้างอย่างลำพังในห้วงอากาศเป็นเวลานาน ก่อนที่จะโฉบเข้ามาผ่านระบบสุริยะด้วยความเร็วสูงสุดถึง 87.7 กม./วินาที ก่อนที่จะช้าลงและพ้นระบบสุริยะไปด้วยความเร็ว 26 กม./วินาที